วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ

เงินลงทุน 

          ประมาณ 5,000-10,000 บาท

แหล่งจำหน่ายอุปกรณ์

          จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ชัยนาท จันทบุรี 
อุปกรณ์ 
          ไม้ไผ่ มีดขนาดต่างๆ เช่น มีดสำหรับผ่า มีดจักตอก ฯลฯ สว่านแบบมือหมุน เลื่อย ปากคีบแบบหุ่น
รายได้ 
          ประมาณ 8,000-15,000 บาท/เดือน
วิธีดำเนินการ 
          1. หาแหล่งที่จะซื้อไม้ไผ่ที่แปรรูปแล้ว และยังไม่แปรรูป

          2. ควรได้ศึกษาถึงชนิดการใช้งานของไม้ไผ่ชนิดต่างๆเนื่องจากไม้ไผ่แต่ละชนิดมีคุณ ลักษณะแตกต่างกัน เช่น
               -ไผ่สีสุก มีเนื้อหนา เหนียวทนทาน จึงเหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือประมง
               -ไผ่นวล มีเนื้ออ่อนค่อนข้างเหนียว เหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานชนิดที่ต้องการความละเอียด เนื่องจากสามารถจักตอกให้เป็นเส้นเล็กบางได้
               -ไผ่รวกดำ ลำต้นแข็งแรงทนทาน ใช้ทำโครงร่ม โครงพัดสานเข่ง
               -ไผ่ข้าวหลาม เป็นไผ่เนื้อค่อนข้างบางใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสาน
               -ไผ่เฮี๊ยะ เป็นไม้ไผ่ขนาดกลาง ใช้ทำเครื่องจักสาน โครงสร้างอาคาร

          3. เตรียมไม้ไผ่เพื่อนำมาจักสาน ควรเป็นไผ่ที่มีอายุ 2-4 ปี ซึ่งเนื้อไม้จะมีความเหนียวกำลังดี ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและต้องเลือกดูไม้ที่ไม่มีแมลง แต่อย่างไรก็ดีควรจะต้มหรือผ่านกรรมวิธีป้องกันเชื้อราและมอดเสียก่อน (ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาใช้ในการจักสาน ได้แก่ ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ลำมะลอก ไผ่รวก เป็นต้น) จากนั้นจึงนำไปตัด ซึ่งต้องตัดให้มีความยาวตามขนาดผลิตภัณฑ์ที่จะสานแล้วนำไปริดข้อ ซึ่งต้องระวังอย่าริดให้ลึกจนเกิดรอยแผลที่ผิวไม้ไผ่ และขั้นตอนสุดท้าย คือ ขูดผิวไม้ไผ่ เพื่อการย้อม/ทาสี หลังจากขูดแล้ว ใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 ขัดให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง

          4. การย้อมและการทาสีไม้ไผ่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เครื่องจักสานดูสวยงาม น่าใช้ ซึ่งก่อนที่จะทำการย้อมสี จะต้องเอาน้ำมันออกจากเนื้อไม้เสียก่อน โดยการต้มไม้ไผ่ในน้ำโซดาไฟหรือโซเดียมคาร์บอเนต ขนาด 0.2% นานประมาณ 3-4 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และอบให้แห้งสนิทจากนั้นนำไม้ไผ่ลงต้มกับสีที่ละลายน้ำแล้ว ประมาณ 20-60 นาที อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ซึ่งขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น จึงนิยมใช้วิธีทาด้วยสีน้ำมันแลคเกอร์หรือน้ำมันวานิชแทน

          5. ติดต่อตลาดจำหน่าย ซึ่งโดยปกติจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน หรือบางครั้งจะรับสั่งทำตามที่ลูกค้าต้องการหรืออาจจะนำไปขายเองก็ได้

          6. ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของเครื่องจักรสานให้ทันสมัยเป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้าทุกวัยเพราะบางครั้งลูกค้าซึ่งมีความเข้าใจว่าเครื่องจักสานเป็นสินค้าที่เหมาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น
สถานที่ฝึกอบรม 
          1. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02-245-2655,245-4741
          2. ในส่วนภูมิภาคที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม 11 ศูนย์ ดังนี้ เชียงใหม่ พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชลบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา
          3. อุตสาหกรรมจังหวัด (ส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรม) ทุกจังหวัด
ข้อแนะนำ 
          การย้อมสีให้ติดดีนั้น ให้ขูดผิวไม้ไผ่อย่างแผ่วๆ ด้วยมีดเสียก่อน และถ้าจะให้สีเด่นให้นำไม้ไผ่ลงแช่ในกรดแทนนิค แอซิค ชนิด 4-6 เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือแช่ในน้ำยาทาอีเมติคชนิด 1-2 เป็นเวลา 30 นาที


ประวัติไม้ไผ่
ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อยBambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberectaMunro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeanaSchult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

 

 

ไอเดียร์จากไม้ไผ่ สร้างอาชีพ

การนำไม้ไผ่ มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของ ให้ได้ดูเป็นไอเดียร์กันครับ บางท่านพอได้ดูแล้วอาจจะเกิดปิ้ง ไอเดียร์ ใหม่ ๆ เอาไปต่อยอดได้อีกเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักได้อีกนะครับ

<> <> <>
bamboo-1bamboo-2bamboo-3
bamboo-4bamboo-5bamboo-6
bamboo-7bamboo-8bamboo-9
bamboo-10bamboo-11bamboo-16
bamboo-13bamboo-14bamboo-15
bamboo-12
ดูภาพขนาดใหญ่กรุณาคลิก

ขอบคุณไอเดียร์เก๋ ๆ จาก : /www.designboom.com


ไม่ไผ่ใครคิดว่าทำอะไรได้บ้าง..??
คำตอบมีมากมายเกินคำบรรยาย เกินกว่าจะเขียนให้หมดได้
ส่วนการนำไม้ไผ่มาใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้เองว่า
จะนำมาประดิษฐ์ เป็นอะไร ทำเป็นอะไร
ไอเดียร์ใคร ไอเดียร์มัน
ย่อมแตกต่างกันไปครับ



แต่วันนี้ แค่จะหยิบยกตัวอย่างบางตอน
ของการนำไม้ไผ่ มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของ ให้ได้ดูเป็นไอเดียร์กันครับ
บางท่านพอได้ดูแล้วอาจจะเกิดปิ้ง ไอเดียร์ ใหม่ ๆ เอาไปต่อยอดได้อีก
เป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักได้อีกนะครับ



ลองเอาไปทำกันดูนะครับวัสดุก็หาง่ายอยู่แล้วครับ ไม้ไผ่บ้านเรามีเยอะแยะไปครับ
สร้างงาน,สร้างอาชีพได้ สร้างรายได้เข้ากระเป๋าตัวเองไว้ก่อนดีกว่า
ปล่อยเวลาให้มันเดินผ่านไปวัน ๆ ไม่ทำก็ไม่รู้นะครับ
ทำก่อนได้ก่อน ขายก่อนรวยกว่า คิดได้ก็ทำได้ รายได้ก็มาครับ พี่น้อง


อ่ายแป้บ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น